วันศุกร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

สรุปผลการเรียนรู้จากการเรียนวิชาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับผูบริหาร

จากการเรียนการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับผู้บริหารนั้นมีประโยชน์มากมายในการชีวิตอยู่บนโลก ไอที และสามารถพัฒนาความรู้และความสามารถของดิฉันจากที่มีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เพียงเล็กน้อยไม่คล่องตัว แต่ก็สามารถเรียนรู้การทำงานของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศได้คล่องขึ้นจากเดิมไม่เคยทำงานหรือสืบค้นทางอินเตอร์เน็ตเลยก็สามารถสืบค้นได้ ในช่วงแรกๆก็ต้องมีการถามผู้รู้บ้าง เมื่อทราบก็สามารถทำเองได้ และได้เรียนรู้การทำงานกลุ่มแบบมีระบบทำให้ผู้ร่วมงานกลุ่มมีควมรักใคร่สามัคคีกันในการทำงานและมีความเอื้อเฟื้อกันช่วยเหลือกัน ต่อมาได้เรียนรู้การศีกษาและสืบค้นเกี่ยวกับนวัตกรรมทางการศึกษาซี่งการศึกษาค้นคว้าในครั้งได้ประโยชน์มาก เพราะทำให้ดิฉันได้ศึกษารูปแบบการทำวิทยานิพนธ์มากมายจึงทำให้ดิฉันมีแนวในการตั้งหัวข้องานวิจัยโดยการงวางแผนหัวข้องานวิจัยไว้ก่อนเมื่อถึงเวลาจะได้มีทางเลือกว่าจะทำงานวิจัยแบบหนึ่งดี และดิฉันยังได้เรียนรู้เกี่วยกับการจัดทำเอกสารอ้างอิงที่ถูกต้องและครบถ้วนตามรูปแบบงานวิจัย ดิฉันได้เรียนรู้เกี่ยวกับกฏหมายเทคโนโลยีสารสนเทศและการละเมิดลิขสิทธ์และทรัพย์สินทางปัญญา รับรู้ถึงจรรยาบรรณ 10 ประการในการอินเทอร์เน็ต ของ รศ.ยืน ภู๋วรวรรณ และที่ลืมไม่ได้ก็คือสามารถเรียนรู้และรับส่งข้อมูลผ่านทาง E-MAIL และ GMAILได้ และสามารถสร้าง WEBBLOG ได้
ถ้าดิฉันไม่ได้เรียนวิชานี้ก็คงไม่สามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆเหล่านี้ได้ดี เพียงดิฉันได้เรียนกับอาจารย์เพียงสี่ครั้งเท่านั้นดิฉันยังได้รับความรู้จากที่อาจารย์มากมาย เพราะอาจารย์มีเทคนิคและทักษะในการสอนที่ดีทำให้ดิฉันเข้าใจและสนุกกับการเรียนในครั้งนี้มาก โอกาสหน้าขอเรียนกับอาจารย์ปรมัตถ์ปัญปรัชญ์ ต้องประสงค์ อีกสักครั้งนะคะ

วันศุกร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

สรุปผลการเรียนรู้ครั้งที่ 2,3

บทที่ 3 การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อตอบสนองความต้องการภาครัฐ
และเอกชน
ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทช่วยในด้านการวางแผนงาน ด้านการตัดสินใจของผู้บริหารและด้านการดำเนินงานขององค์กร โดยผู้บริหารจะต้องเลือกใช้ระบบสารสนเทศให้เหมาะสมกับองค์กร จึงจะสามารถสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน
ผู้บริหารต้องนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในงานต่างๆ 3 ด้าน คือ
1.ด้านการวางแผน
2.ด้านการตัดสินใจ
3.ด้านการดำเนินงาน
ผู้บริหารต้องมีการตัดสินใจมี 3 ระดับ
1.การตัดสินใจระดับสูง สิ่งสนับสนุนการตัดสินใจได้แก่ การประมวลผลข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล เป็นการตัดสินใจแบบไม่มีการวางแผนล่วงหน้า เกี่ยวข้องกับปัญหาแบบไม่มีโครงสร้าง หรือปัญหาที่ไม่คาดคิดมาก่อนว่าจะเกิดในองค์กร
2.การตัดสินใจระดับกลาง เป็นการตัดสินใจของผู้บริหารระดับกลาง ให้สอดคล้องกับนโยบายของผู้บริหารระดับสูง เป็นปัญหาแบบกึ่งโครงสร้างหรือเป็นลักษณะการตัดสินใจที่สามารถรู้ล่วงหน้าว่าจะต้องเกิดขึ้น แต่มีตัวแปรที่ทำให้การตัดสินใจยุ่งยากมากขึ้น
3.การตัดสินใจระดับปฏิบัติการ เป็นปัญหาแบบมีโครงสร้าง หรือปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นประจำ

บทที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม การเมือง และเทคโนโลยีสมัยใหม่
ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือ
1.ทำให้สังคมเปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมมาเป็นสังคมสารสนเทศ
2.เกิดการพัฒนาการใช้ระบบสื่อสารโทรคมนาคม
3.วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว ทำให้เทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน
4.มีบทบาทในวงการธุรกิจ
ผลกระทบของเทคโนโลยีต่อสังคมในแง่บวก คือ

1. ทำให้วิถีชีวิตของคนในสังคม สะดวก สบายขึ้น ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
2. ช่วยพัฒนาระบบการทำงานให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว
3. ช่วยพัฒนาระบบการทำงานร่วมกันได้ทุกที่ ทุกเวลา ทุกสถานที่ เช่น การโต้ตอบกันทางอินเตอร์เน็ต
4. ช่วยให้ด้านการแพทย์เจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว
5. ช่วยพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน โดยใช้ห้องสมุดเสมือน หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
ผลกระทบของเทคโนโลยีต่อสังคมในแง่ลบ คือ
1.สารสนเทศส่วนตัวบางอย่างที่ไม่ต้องการเปิดเผย ถูกละเมิดโดยเข้าถึงข้อมูลมากขึ้น ทำให้เกิดอันตรายในกรณีที่นำสารสนเทศไปใช้ในทางที่ผิด
2.เกิดปัญหาการว่างงานเพิ่มขึ้น
กระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์ ต้องมีขั้นตอนที่สำคัญ 3 ขั้นตอน คือ
การวิเคราะห์กลยุทธ์ ซึ่งต้องพิจารณาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค
การจัดทำกลยุทธ์ ซึ่งต้องมีการกำหนด วิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมาย
การนำกลยุทธ์ ไปปฎิบัติ
การบริหารการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีสมัยใหม่ ซึ่งต้องติดตามการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ทันกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ ประกอบกับ
ผู้บริหารจะต้องมีวิสัยทัศน์กว้างไกล รู้วิธีการบริหารจัดการที่ดี และพัฒนาบุคลากรในองค์กรให้ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลง

บทที่ 5 ความรู้พื้นฐานของนวัตกรรมการศึกษา
กระบวนการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในทุกวันนี้ ไม่ว่าจะมีอยู่เดิมแล้วหรือเกิดขึ้นใหม่ และแนวคิดวิถีในการพัฒนาสิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาบุคคล หรือการพัฒนางานที่มีอยู่ในองค์กรต่าง ๆ ดังนั้นจึงมีคำว่านวัตกรรมเกิดขึ้นมาใหม่ คือ การริเริ่มสร้างใหม่ ๆ และกระทำกระบวนการที่มีอยู่เดิมให้ดีขึ้น รวมถึงภาคการศึกษาที่จำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องมีการพัฒนานวัตกรรมการศึกษา จะทำให้การศึกษามีคุณภาพและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ตลอดจนผู้เรียนสามารถคิดแนวความคิดใหม่ ๆ และเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วมีคุณภาพสูงและปัจจุบันมีการนำนวัตกรรมการศึกษาใหม่ ๆมาปรับใช้กับการศึกษามากยิ่งขึ้นไม่ว่าจะเป็นโครงสร้าง ต่าง ๆเช่น องค์กร บุคลากร ตลอดจนกระบวนการหรือแนวคิดทางกลยุทธ์ต่าง ๆ
ประเภทของนวัตกรรมการศึกษา
1.นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร
2.นวัตกรรมการเรียนการสอน
3.นวัตกรรมสื่อการสอน
4.นวัตกรรมการประเมินผล
5.นวัตกรรมการบริหารจัดการ
องค์ประกอบของการจัดการนวัตกรรมทางการศึกษา
คือ โครงสร้างองค์กร
*บุคลากร
*กระบวนการ
*กลยุทธ์และยุทธวิธี
*เครื่องมือและเทคโนโลยีสารสนเทศ
ในการสร้างนวัตกรรมจะมีปัจจัยในการพัฒนา
*บุคคลเก่ง
*ทีมงานเยี่ยม
*องค์กรดีเลิศ

บทที่ 6 การประยุกต์ใช้นวัตกรรมทางการศึกษา
นวัตกรรมทางการศึกษาในปัจจุบันมีอยู่เป็นจำนวนมาก ดังนั้นผู้บริหารสถาบันการศึกษาจำเป็นต้องมีความรู้และความสามารถประยุกต์ใช้นวัตกรรมใหม่ๆ ได้อย่างมีประสิทะภาพ ซึ่งมีนวัตกรรมทางการศึกษาที่สำคัญหลายอย่าง เช่น การจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บไซด์ (Web-Based Instruction : WBI) ซึ่งเป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่อาศัยเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต ทั้งนี้การใช้เว็บเพื่อการเรียนการสอนบนเว็บแม้จะเป็นนวัตกรรมใหม่เข้ามาใช้ในการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี
บทเรียนออนไลน์ หรือบางคนเรียกว่า e-Learning เป็นรูปแบบหนึ่งของการจัดการเรียนการสอนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ในลักษณะหรือรูปแบบที่มีการถ่ายทอดเนื้อหาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอนซีดีรอม การเรียนการสอนบนเว็บ (Web-Based Learning)
การเรียนออนไลน์ (On-Line Learning) การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม หรือการเรียนด้วยวิดีโอผ่านออนไลน์
โมบายเลิร์นนิ่งเป็นการพัฒนาอีกขั้นของ e-Learning คือ เทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สาย
และสวนดุสิตอินเตอร์เน็ตบรอดคาสติ้ง (SDIB) เป็นการจัดการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในรูปแบบสถานีโทรทัศน์ ถ่ายทอดภาพและเสียง ออกอากาศ
ห้องสมุดเสมือน เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลไว้บริการในรูปอิเล็คทรอนิคส์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยมีการเชื่อมโยงข้อมูลจากหลายแหล่งเข้าด้วยกัน